แมวเบงกอล ต้นกำเนิดจากชาวอเมริกันชื่อ จีน มิล อยากได้แมวที่ไม่เหมือนใครจึงได้ไปทำการซื้อแมวดาวมาจากร้านขายสัตว์เลี้ยงในอเมริกา (สมัยนั้นการขายแมวดาวไม่ผิดกฏหมาย) หลายปีหลังจากนั้น มิล สังเกตุเห็นว่าแมวดาวของรู้สึกเหงาเธอจึงรับแมวบ้านตัวผู้มาตัวนึงเพื่อเป็นเพื่อนแมวดาวของเธอ หลังนานไม่นานโดยไม่ตั้งใจแมวดาวก็ตั้งท้องและคลอดลูกซึ่งมีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่รอดชีวิตเธอตั้งชื่อว่า คิน-คิน มิลล์ทำการติดต่อวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ในเมืองอีทาการัฐนิวยอร์กเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลแมวลูกผสมตัวนี้และได้รับการแจ้งว่า คิน-คิน อาจเป็นหมัน แต่ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะไม่นาน คิน-คินก็ตั้งท้องกับแมวบ้าน และออกมาเป็นแมวที่มีลักษณะคล้ายแมวดาว ในช่วงนั้นแมวดาวเริ่มกลายเป็นสัตว์ต้องห้ามในการซื้อขายและครอบครอง มิลล์ จึงได้ตัดสินใจว่าจะเพาะพันธุ์แมวพันธุ์ผสมของเธอเพื่อเติมเต็มความต้องการของชาวอเมริกันที่ยังต้องการสิ่งมาเต็มความกระหายที่จะเลี้ยงแมวดาว แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะในช่วงแรกแมวผสมนี้ยังมีลักษณะนิสัยของแมวป่าที่คาดเดาไม่ได้ค่อนข้างมาก แต่ในที่สุดหลังจากผ่านไปหลายรุ่น แมวพันธุ์ผสมเหล่านั้นก็ปราศจากนิสัยของแมวป่าและกลายเป็นแมวบ้านไปโดยสมบูรณ์ และขึ้นทะเบียนกับ CFA เป็นแมวเบงกอลดังเช่นที่เราเห็นกันในทุกวันนี้
ลักษณะภายนอกจะมีลายจุดตามตัวเปรียบเสมือนลายของเสือ มีโครงสร้างของร่างกายที่สวยงาม ดูแข็งแรงเหมือนเสือ หลายๆคนขนานนามว่าเป็นแมวป่า แต่ก็มีนิสัยที่ขี้อ้อนเหมือนกับแมวทั่วไป และในบ้านเราก็มีการเพาะเลี้ยง แมวเบงกอลและประสบผลสำเร็จอยู่ไม่น้อย สำหรับราคาแมวเบงกอล มีราคาอยู่ที่ประมาณ 10,000-160,000 บาท ขึ้นอยู่กับสุขภาพและสีขนรวมถึงปัจจัยอื่นๆ และความพอใจของผู้ขายด้วย
ที่มา https://pixabay.com/th/
ลักษณะโดยทั่วไป
เป็นแมวขนาดกลางถึงตัวใหญ่ มีกล้ามเนื้อใหญ่ หัวกลม หูกว้างใหญ่และเป็นทรงโค้งไม่แหลม ผิวสีและลายขน มีทั้งแบบจุด แบบลายเสือดาว และเป็นทางขวางเป็นลายเสื้อพาดกลอน หรือลายหินอ่อน ตากลมโต มีทั้งสีอัลมอนด์ สีฟ้า ฟ้าอมเขียว และมีอายุขัยราว 8-12 ปี ส่วนลักษณะอื่นๆของแมวเบงกอล สามารถสังเกตได้ง่าย เช่น ช่วงปากมีขนสีขาวรอบๆ สันจมูกเป็นสีเข้ม ช่วงแก้มเป็นลายริ้วสีเข้ม หนวดและคิ้วเป็นสีขาว ตรงปลายหางนั้นนั้นมักเป็นสีเข้ม ส่วนช่วงต้นขานั้นมักเป็นลายริ้ว
ที่มา https://pixabay.com/th/
ลักษณะนิสัยเป็นแมวที่ค่อนข้างซุกซน ไม่ดุร้าย เป็นแมวที่ฉลาดและมีความมั่นใจในตัวเองสูง ขี้สงสัย และยังขี้อ้อนอีกด้วย เป็นแมวที่สามารถอยู่ร่วมกับสัวต์ชนิดอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี มีเสียงร้องที่ค่อนข้างเหมือนกับแมวป่า อุปนิสัยที่โดดเด่นของเบงกอล คือเป็นแมวที่ชอบเล่นน้ำซึ่งตรงกันข้ามกับนิสัยแมวทั่วไปที่กลัวการอาบน้ำมาก อีกทั้งยังเป็นแมวที่ชอบกิจกรรมซึ่งเป็นสัญชาตญาณของแมวป่าที่ผสมมา จึงมีนิสัยนักล่าอยู่ในตัว ชอบไล่ตะครุบเหยื่อ กระโดดและปีนป่ายได้สูง หากนำมาเลี้ยงควรมีของเล่นให้งับเล่นแก้เบื่อ
ที่มา https://pixabay.com/th/
อาหารสำหรับ แมวเบงกอล
สำหรับการให้อาหารแมวเบงกอล แมวชนิดนี้จะมีความต้องการเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากกว่าแมวทั่วไปเล็กน้อย โดยผู้เลี้ยงอาจจะให้กินเนื้อวัวสดวันละครั้งเพิ่มเติมจากอาหารที่กินอยู่เป็นประจำนั่นเอง และไม่ควรที่จะให้แมวเบงกอล ทานเนื้อหมูหรือเนื้อไก่เด็ดขาด เพียงแค่นี้ก็จะไม่ทำให้ท้องเสียหรือเสียสุขภาพ นอกจากนี้ก็เป็นอาหารสำเร็จรูปทั่วไป ซึ่งทางที่ดีให้ดีควรให้อาหารชนิดเปียกเป็นหลัก หรือจะเสริมด้วยเนื้อวัวสดในทุกๆวัน ก็จะทำให้น้องเหมียวได้ความรู้สึกเหมือนอยู่ป่า และคุ้นชินกับการทานอาหารมากขึ้น การเลี้ยงแมวเบงกอล มีสิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ แมวชนิดนี้มักเป็นโรคหัวใจ จึงควรหมั่นพบแพทย์ ฉีดวัคซีน ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ และระมัดระวังเรื่องแบคทีเรียจากอาหารค้างคืน ด้านการดูแลความสะอาดของแมวเบงกอล ทั้งอาบน้ำ แปรงขน เช็ดหู ตัดเล็บ ฯลฯ เหมือนกับแมวทั่วๆ ไป อย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง
ที่มา https://pixabay.com/th/
แมวเบงกอลกับเด็ก
แมวเบงกอล เป็นแมวที่กระตือรืนร้นและเข้าสังคมได้ดี เหมาะสำหรับการเลี้ยงในครอบครัวที่มีเด็กและสุนัขที่เป็นมิตร แมวเบงกอลสามารถเล่นและเรียนรู้เทคนิคง่ายๆ และชอบที่ได้รับความสนใจจากเด็กๆ ที่เล่นกับเบงกอลด้วยความรักและเคารพแมวเบงกอลเป็นแมวที่ไม่กลัวอะไร แม้แต่สุนัขก็ตาม จึงสามารถเล่นกับสุนัขได้หากสุนัขไม่ได้ทำร้ายแมว แต่อย่างไรก็ตามแมวเบงกอลยังคงมีความเป็นนักล่าอยู่จึงไม่ควรวางใจกับสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กที่สามารถเป็นเหยื่อได้ เช่น กระต่ายขนาดเล็ก หนูแฮมสเตอร์ และหนูตะเภา
4 สิ่งที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ แมวเบงกอล
ที่มา https://pixabay.com/th/
4 สิ่งที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับแมวเบงกอล
1. แรกเริ่มเดิมทีแมวเบงกอลถือกำเนิดขึ้นมาด้วยความบังเอิญจากการวิจัยทางการแพทย์ แมวเบงกอล ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการโดย ดร.วิลลาร์ด เซนเทอร์วอล (Dr.Willard Centerwall) เขาเป็นนักพันธุศาสตร์ซึ่งกำลังศึกษาเรื่องลูคีเมียและมะเร็งต่างๆ ในแมวอยู่ ดร.วิลลาร์ดได้ทำการวิจัยและค้นพบว่าแมวป่าเช่นพวกสิงโตหรือเสือนั้นมีภูมิต้านทานต่อโรคเหล่านี้มากกว่าแมวบ้าน เขาจึงได้นำแมวป่ามาผสมพันธุ์กับแมวบ้านเพื่อศึกษาเรื่องภูมิคุ้มกันเหล่านี้และผลพลอยได้ที่ออกมาก็คือแมวซึ่งเป็นต้นแบบของแมวเบงกอลในปัจจุบัน ต่อมานักผสมพันธุ์นามจีน มิล (Jean Mill) ได้ทำการต่อยอดโดยการผสมพันธุ์แมวเบงกอลให้มีลักษณะดีและไม่เป็นหมันร่วมกับ ดร.วิลลาร์ดจนได้แมวแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน
2. บรรพบุรุษของแมวเบงกอลเป็นแมวแถวบ้านเรานี่เอง
แมวป่าที่นำมาผสมพันธุ์ในแรกเริ่มนั้นคือแมวดาว เป็นแมวป่าสายพันธุ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Felis Bengalensis ส่วนชื่อเบงกอลก็ถอดมาจากชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมันตรงๆ เลย
3. พวกมันเป็นแมวที่มีราคาแพงมาก
4. ในช่วงยุค 90s ที่แมวเบงกอลเริ่มเป็นที่ยอมรับนั้นเคยมีราคาซื้อขายกันสูงถึงราว 50,000 ดอลลาร์เลยเชียวนะ (ราว 1 ล้าน 5 แสน) แม้ปัจจุบันจะเริ่มมองหาได้ทั่วไปแต่แมวเบงกอลสายพันธุ์แท้ที่ขายจากฟาร์มซึ่งได้รับการยอมรับก็ยังมีราคาเป็นหมื่นอยู่
5. แมวเบงกอลเป็นสุดยอดนักล่านก
บทสรุป
ถ้าคุณมีความคิดที่จะเลี้ยงนกไว้กับแมวเบงกอลก็ให้หยุดความคิดนั้นไว้ก่อนจะดีกว่า เบงกอลเป็นนักล่านกโดยธรรมชาติ ด้วยสัญชาตญาณจากบรรพบุรุษของเขา เขาเลยมักที่จะชอบปีนป่ายเพื่อล่านกอยู่เสมอ
Credit By itgooru.com goorucamping.com goorucrypto.com comperaichi.com moncleroutletsales.com ComBlizzard.com cameragooru.com aaviagar.com outletmoncler.org comshareasale.com