สก็อตติช โฟลด์ แมวหูพับยอดนิยม ตัวเล็กน่ารัก

สก็อตติช โฟลด์ แมวหูพับยอดนิยม ตัวเล็กน่ารัก

สก็อตติช โฟลด์ ความเป็นมาของแมวพันธุ์นี้มาจาก มีนักเพาะพันธุ์แมวนามว่า William Ross ได้ไปเตะตากับแมวสีขาวตัวหนึ่ง มีนามว่า Suzie ที่มีลักษณะโดดเด่นคือ หูพับลง จากนั้นมาเข้าจึงนำ Suzie ไปผสมพันธุ์ ถิ่นกำเนิดของเจ้าแมวเหมียวตัวนี้ก็มาจากประเทศ สก็อตแลนด์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “สก็อตติช” นั่นเอง ส่วน “โฟลด์” นั้นก็มาจากหูของน้องที่มีลักษณะพับลง 

กับแมวในท้องถิ่น และขยายพันธุ์ไปเรื่อยๆ จนเป็นที่แพร่หลาย แต่แล้วความนิยมของ สก็อตติช โฟลด์ ในอังกฤษก็ได้ลดลง

ในต้นปี ค.ศ.1970 เมื่อ GCCF ได้ล้มเลิกการจดทะเบียนแมวพันธุ์สก็อตติชไว้เนื่องจากปัญหาสุขภาพในเรื่องของความผิดปกติของหูและการได้ยินบกพร่อง ในทางกลับกัน สก็อตติช โฟลด์ กับมีความนิยมมากทางฝั่งประเทศอเมริกา แมวพันธุ์นี้ได้ถูกนำเข้าในสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี ค.ศ.1971 ซึ่งก็คือลูกแมวที่เกิดจากซูซี่ นั่นเอง

สก็อตติช โฟลด์ โดยจุดประสงค์แรกที่นำเข้ามาเพื่อการวิจัยการกลายพันธุ์ของแมวหูพับ แต่เมื่อการวิจัยได้หยุดชะงักลงกะทันหัน แมวหลายตัวจึงถูกส่งกลับไปที่อังกฤษ และกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในอังกฤษ รวมไปถึงในอเมริกา และได้แพร่พันธุ์ไปทั่วโลกไปจนถึงทุกวันนี้

สก็อตติช โฟลด์

ที่มา https://www.istockphoto.com/

ลักษณะทางกายภาพ

น้ำหนัก:  เพศผู้ 4-6  กิโลกรัม เพศเมีย 3-5 กิโลกรัม

ความสูง: 25-30 เซนติเมตร

ขน: มีทั้งขนสั้นและขนยาว ขนมีลักษณะหนานุ่ม

สีขน: มีตั้งแต่สีเดียวจนไปถึงหลายสี รวมถึงลายเสือ นอกจากนี้สีตาจะขึ้นอยู่กับสีขนอีกด้วย

ลักษณะเด่น: หูพับ หัวกลม ตัวกลม คอสั้น ตากลมโตคล้ายนกฮูก

ช่วงชีวิต: มีอายุประมาณ 11-14 ปี

สายพันธุ์สก็อตติชโฟลด์ไม่ได้มีแค่ลักษณะหูพับเท่านั้น ลักษณะกรรมพันธ์ุของน้องแมวแบ่งได้เป็น 3 ประเภท โดยจะเกี่ยวข้องกับลักษณะของหูพับและกระดูกอ่อน คือ

1.No Mutated Genes คือ แมวที่ไม่มีลักษณะหูพับ และอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกอ่อน แต่มีลักษณะเหมือนสก็อตติชโฟลด์ทุกอย่าง

2. One Gene Copy แมวชนิดนี้จะมีการ copy ยีนกลายพันธุ์เพียงแค่หนึ่งยีนเท่านั้น แมวอาจจะมีลักษณะหูพับหรือไม่พับก็ได้ และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อเมื่อมีอายุมากขึ้น

3. Two Gene Copies จะพบแมวลักษณะที่มีหูพับเสมอ และมีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อตลอดช่วงชีวิตปัญหาที่เจอบ่อย ๆ ในบ้านเราสำหรับผู้ที่เลี้ยงแมวสายพันธุ์นี้คือ ตอนที่รับน้องแมวมาใบหูจะดูพับสนิทเป็นปกติ แต่พอเลี้ยงไปเรื่อย ๆ สัก 2-3 เดือน ใบหูจะเริ่มดีดเด้งขึ้นมา บางครั้งดีดจนดูตั้งและแยกแทบไม่ออกว่าเป็นแมวสก็อตติชหูพับหรือสก็อตติชหูตั้ง

ปัญหานี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุณหภูมิ ความเครียด ความเจ็บป่วย และสาเหตุหลักที่หลายคนไม่รู้นั่นคือ

มาจากกรรมพันธุ์ ดังนั้นการเลือกรับแมวสก็อตติชโฟลด์ไม่ควรดูแค่ความน่ารักถูกชะตา ในตอนเด็ก แต่ควรดูย้อนกลับไปถึง

รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่าตายายของสายพันธุ์สก็อตติชโฟลด์ ด้วยว่ามีลักษณะใบหูเป็นอย่างไร

ที่มา https://www.istockphoto.com/

นิสัยและพฤติกรรมทั่วไป

เจ้าแมว สก็อตติชโฟลด์ เป็นแมวน่ารัก จิตใจดี มีความฉลาดและอดทน ชอบอยู่ท่ามกลางเหล่าคนที่น้องแมวรัก น้องจัดได้ว่า

เป็นแมวผู้ดีเลยก็ว่าได้ น้องไม่ค่อยเคลื่อนไหวมากนัก จะชอบเล่นอยู่เงียบๆ เล่นของเล่นที่น้องชอบ ของเล่นโปรดปราน

สำหรับน้องก็คือ ของเล่นท้าปะลองสมองต่างๆ เจ้าสก็อตติชโฟลด์ยังเป็นแมวขี้อ้อน เรียกร้องความสนใจแทบจะตลอดเวลา น้องจะไม่ชอบปล่อยให้อยู่คนเดียวนานเกินไป และถ้าหากเราอยู่บ้านน้องจะชอบเข้ามาอ้อน คลอเคลีย มานั่งตักเราตอนเราดูทีวี

หรืออ่านหนังสืออยู่ ดังนั้นน้องจะเหมาะกับเจ้าของที่มีเวลาเอาใจใส่และเล่นกับน้องตลอดเวลา

วิธีการเลี้ยงและดูแลสก็อตติชโฟลด์ให้มีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ

ผู้ที่เลี้ยง แมวสายพันธุ์สก็อตติชโฟลด์ จะไม่กังวลเรื่องการเลี้ยงดูมากนัก เพราะน้องเป็นแมวที่ชอบอยู่เงียบๆ ไม่สร้าง

ความเดือดร้อนให้ใคร น้องจะมีจุดส่วนตัวประจำในบ้านที่น้องสามารถนอนพักผ่อนหย่อนใจในบ้านได้อย่างสบายใจ น้องชอบอากาศโล่งโปร่งสบาย ไม่ร้อนเกินไป เพราะฉะนั้นน้องเหมาะที่จะเลี้ยงในร่มมากว่าการไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง

ข้างนอกเป็นเวลานานๆ

อาหารของสก็อตติชโฟลด์

อาหารของแมวสก็อตติชโฟลด์อายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป: สามารถกินอาหารแมวทั่วไปได้ทั้งแบบแห้งและเปียก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ

ปัจจัยเรื่องน้ำหนักและสุขภาพของแมวด้วย และเรายังสามารถปรุงอาหารสุกสลับกับอาหารสำเร็จรูปให้น้องกินได้

อาหารต้องห้ามสำหรับสก็อตติชโฟลด์ มีดังนี้

1. เนื้อหมู, เนื้อแกะ และเนื้อม้า รวมไปถึงพวกเครื่องในและกระดูกต่างๆ

2. เนื้อดิบ

3. ก้างปลาและกระดูกไก่

4. อาหารขยะ เช่นไส้กรอก และอาหารคนโดยเฉพาะประเภทผัดต่างๆ

5. อาหารหมักดอง

6. อาหารที่มีการเติมสารปรุงแต่ง

7. ช็อคโกแลต และขนมหวานต่างๆ

8. ขนมปัง

ที่มา https://www.istockphoto.com/

วิธีดูแลรักษาแมวสก็อตติชโฟลด์

การดูแลรักษาความสะอาด

ควรอาบน้ำให้น้องอย่างน้อยเดือนละครั้ง และการทำความสะอาดหูของน้องเป็นเรื่องสำคัญ เพราะด้วยที่หูของน้องมีลักษณะ

พับลง จึงทำให้เป็นที่สะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่างๆ นอกจากนี้ควรทำความสะอาดบริเวณรอบๆดวงตา โดยใช้สำลีชุบ

หมาดๆเช็ดรอบดวงตา เพื่อเป็นการกำจัดการเปลี่ยนสีของขนใต้ตา

การดูแลรักษาขนของแมวสก็อตติชโฟลด์

การดูแลรักษาขนยังขึ้นอยู่กับความยาวของขนแมวด้วย สก็อตติชโฟลด์ขนสั้น ควรแปรงขนครั้งละหนึ่งอาทิตย์ และ

สก็อตติชโฟลด์ขนยาว ควรแปรงขนอาทิตย์ละสอง-สามครั้ง เพื่อป้องกันขนพันกัน

สุขภาพของแมวสก็อตติชโฟลด์

ด้วยลักษณะพิเศษของเจ้าสก็อตติชโฟลด์ที่มีหูพับ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหูจึงเป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะอาจเป็นแหล่ง

สะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรียต่างๆ โรคที่อาจเกิดกับสก็อตติชโฟลด์ มีดังนี้ 

1. Osteochondrodysplasia (OCD) โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของกระดูก โดยขากรรไกรล่างไม่เจริญเติบโต จึงทำให้ปากของแมวปิดไม่สนิท

2. Polycystic Kidney Disease (PKD) โรคถุงน้ำที่ไต

3. Familial Hypertrophic Cardiomyopathy (HCM) โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ

สก็อตติช โฟลด์

ที่มา https://www.istockphoto.com/

แมวสก็อตติชโฟลด์กับเด็กและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

แมวสายพันธุ์สก็อตติชโฟลด์เป็นแมวเงียบๆ และมีความอดทนสูง จึงเหมาะกับครอบครัวที่มีเด็กเล็กๆ และไม่เล่นกับน้อง

ด้วยความรุนแรง นอกจากนี้น้องยังเข้ากับแมวและสุนัขตัวอื่นๆได้ดี เพราะน้องมีอัธยาศัยที่ดี ด้วยความน่ารักของเจ้าแมว

สายพันธุ์สก็อตติชโฟลด์ ใครๆก็อยากเอามาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนเล่นในบ้าน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เหมาะจะเลี้ยงน้อง น้องเป็นแมวที่

ต้องการความสนใจและปฎิสัมพันธ์สูง จึงเหมาะกับผู้เลี้ยงที่อยู่บ้านและคอยเล่นคอยดูแลตลอดเวลา และมีเวลาให้น้องเสมอ นอกจากนี้น้องยังมีปัญหาสุขภาพที่ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นผู้เลี้ยงควรมีความพร้อมในการดูแลรักษาและค่าใช้จ่ายในด้านนี้ด้วย

Credit by : ufabet